เมนู

จตุตถวรรค


มนสิการลักขณปัญหา ที่ 1


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนครเสนผู้เป็นเจ้าผู้ประเสริฐ มนสิกาโร อันว่ามนสิการเจตสิกเมื่อจะบังเกิดนั้น
กึ ลกฺขโร มีลักษณะประการใด พระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสถามดังนี้
พระนาคเสนมีเถรวาจาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
มนสิการเมื่อจะบังเกิดนั้น อาวชฺชนลกฺขโณ มีลักษณะพิจารณา ขอถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า กลฺโลสิ สธุสะพระผู้เป็นเจ้ากล่าวนี้สมควร
มนสิการลักขณปัญหา คำรบ 1 จบเท่านี้

อกโตภาวคตปัญหา ที่ 2


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้ฉลาดในอรรถาธิบาย พระผู้เป็นเจ้าจะเอาธรรมทั้งหลายนี้มีผัสสะ
เป็นต้นมาปนระคนให้เป็นอันเดียวกันเข้าแล้ว จะบัญญัติจัดแจงแบ่งบันให้ประกอบด้วยเหตุต่าง ๆ
ว่า อยํ สิ่งนี้เป็นผัสโส สิ่งนี้เป็นเวทนา สิ่งนี้เป็นสัญญา สิ่งนี้เป็นเจตนา สิ่งนี้เป็นวิญาณ สิ่งนี้
เป็นวิตก สิ่งนี้เป็นวิจาร อย่างนี้จะได้หรือมิได้
พระนาคเสนผู้วิเศษจึงแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้เป็นมหิศราธิบดี
ซึ่งจะได้อาตมาเอาธรรมทั้งหลายนี้ กระทำให้เป็นเดียวเป็นบทเดียวกันเข้าแล้ว และจะให้แจก
ออกไปว่า สิ่งนี้เป็นผัสโส สิ่งนี้เป็นเวทนา สิ่งนี้เป็นสัญญา สิ่งนี้เป็นเจตนา สิ่งนี้เป็นวิญญาณ
สิ่งนี้เป็นวิตก สิ่งนี้เป็นวิจาร จะให้กระทำดุจกระแสพระราชโองการนี้ อาตมากระทำไม่ได้
ของถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมิทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า โยมอาราธนาพระผู้เป็น
เจ้าอุปมาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูรานบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปาน
ดุจพ่อครัวของบรมกษัตริยราธิราชพระองค์หนึ่ง และพ่อครัวนั้นไซร้ ยูสํ วา รสํ วา เมื่อจะแต่ง

เครื่องกระยาหารจึงแกงบ้านยำบ้าง ย่อมใส่ลง ทธีปิ ซึ่งทธิก็ดี โลณํปิ ซึ่งเกลือก็ดี สิงฺคเวรํปิ
ซึ่งขิงก็ดี ชีรกํปิ ซึ่งผักชีก็ดี มริจํปิ ซึ่งพริกก็ดี อญฺญานิ อุปการานิ ซึ่งเครื่องปรุงอื่นอีกก็ดี
กระทำเป็นแกงกระทำเป็นยำ สำเร็จสุกเสร็จแล้ว ใส่เครื่องไปถวายสมเด็จบรมกษัตริย์ สมเด็จ
บรมกษัตริย์จึงมีพระราชโองการตรัสบังคับพ่อครัวว่า แกงนี้ท่านตกแต่งเครื่องปรุงปนกันเป็น
อันมาก เป็นรสอันเดียวกัน ทีนี้ท่านจงคัดซึ่งแกงนี้ให้ปรากฏออกให้เป็นรสต่าง ๆ พึงชี้แจงว่า
สิ่งนี้ในแกงคือรสทธิ สิ่งนั้นคือรสเกลือ อย่าให้เจือกัน สิ่งนี้คือรสพริก สิ่งนั้นคือรสขิงหัวหอม
ผักชีสารพัด ท่านจงคัดมาให้แก่เรา
ประการหนึ่งเล่า ซึ่งขนมของหวานนี้ท่านจงคัดรสให้กระจัดออกว่า รสนี้รสน้ำผึ้ง นี่รส
น้ำตาล นี่รสถั่ว นี่รสงา ท่านจงคัดเอารสนั้นออกมาแต่ละสิ่ง ๆ ชี้แจงสำแดงให้แก่เราให้ได้ พ่อ
ครัวนั้นก็จนใจมิอาจจะคัดออกได้ ขอถวายพระพร เหมือนบพิตรพระราชสมภารกระนี้แหละ จะ
เอารส 7 ประการมาปนระคนเข้าเป็นอันเดียวกันแล้ว จะกลับคัดรสนั้นให้กระจัดออกว่า อิทํ
สิ่งนี้ อมฺพิลตฺตํ วา เป็นรสเปรี้ยวก็ดี ลวณตฺตํ วา สิ่งนี้เป็นรสเค็ม ติตฺติกตฺตํ วา สิ่งนี้เป็น
รสขม กฏกตฺตํ วา สิ่งนี้เป็นรสเผ็ด กสายตฺตํ วา สิ่งนี้เป็นรสฝาด มธุรตฺตํ วา สิ่งนี้เป็น
รสหวานก็ดี สมเด็จพระบรมพิตรพระราชสมภารจะชี้แจงออกได้หรือประการใด
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์เลิศกษัตริย์ตรัสว่า ไม่ได้รส 7 ประการปนกันแล้วก็เป็นรส
อันเดียวกัน จะคัดให้กระจัดออกไม่ได้
พระนาคเสนจึงถวายพระพระว่า ความเปรียบนี้ฉันใด ซึ่งมีพระราชโองการจะให้เอาธรรม
ทั้งหลายมีผัสโสเป็นต้น มาปนเข้าเป็นอันเดียวกันแล้ว จะให้กลับคัดออกมาว่า สิ่งนี้คือผัสโส
สิ่งนี้คือเวทนาเป็นต้น ก็จนอยู่เหมือนกัน มิอาจจะกระทำได้ ขอถวายพระพร
ครั้งนั้น พระนาคเสนจึงถวายพระพรถามต่อไปนี้ว่า มหาราช ดูรานะพิตรพระราช-
สมภาร ประการหนึ่งจะว่าเกลือนี้ จกฺขุวิญฺเญยฺย รู้ด้วยจักขุหรือเป็นประการใด นะบพิตร
พระราชสมภาร
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงมีพระราชโองการรับคำพระนาคเสนผู้เป็นเจ้าว่า รู้ด้วยจักขุ
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า สุฏฐุ โข มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ซึ่งพระราชโองการตรัสว่า รู้จักเกลือด้วยจักขุนั้น ตรัสให้จงดี
พระนาคเสนมิลินท์ปิ่นกษัตริย์มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นเจ้าเข้าใจว่ารู้รสเกลือด้วยชิวหาหรือประการใด

พระนาคเสนรับพระราชโองการไปว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้เป็นใหญ่
กว่าฝูงประชา เออ อาตมาว่าบุคคลจะรู้ว่ารสเกลือด้วยชิวหา
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า พระผู้เป็นเจ้าว่า บุคคลจะรู้ว่ารสเกลือทั้งสิ้น
ด้วยชิวหา มั่นคงแล้วหรือ
พระนาคเสนรับคำว่า บุคคลจะรู้ว่าเกลือทั้งสิ้นด้วยชิวหา มั่นคง ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรกรตรัสว่า ถ้าว่าบุคคลรู้ว่าเกลือทั้งสิ้นด้วยลิ้นชิมเข้า
ดูแล้ว ถ้าว่าเขาเอาเกวียนไปบรรทุกมา ตกว่าไม่เชื่อตา จะเอาชิวหานั้นเที่ยวชิมไป ซึ่งเกลือทั้ง
เล่มเกวียนนั้นหรือ พระผู้เป็นเจ้า ประการหนึ่งเล่า เกวียนเกลือนั้น เขานำมาเข็นมาด้วยโคอันมี
กำลังจึงไปนำมาได้ ก็บุคคลที่รู้จักเกลือด้วยลิ้น จะเอาลิ้นไปเข็นเอาเกลือนำเอาเกวียนเกลือมา
ได้หรือ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนเถระมีวาจาตอบว่า ลิ้นคนนี้จะไปเข็นเอาเกวียนเกลือมา หาอย่างธรรมเนียม
มิได้ เหตุว่าพระองค์ถามรวมปนกันว่าเกลือทั้งเล่มเกวียน ลิ้นหรือจะเฝ้าชิมไปได้ ลิ้มหรือจะเข็น
เกวียนเกลือไปได้ อาศัยว่าให้ผิดให้ต่างไป มิได้ถูกต้องด้วยพระอภิธรรม อาตมาจะถามมหาบพิตร
บ้าง บุคคลจะชั่งเกลือทั้งสิ้นจะได้หรือมิได้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คนทั้งปวงเขาก็ชั่งได้สิ้น หรือ
พระผู้เป็นเจ้าว่าชั่งไม่ได้เล่า ก็ให้ว่ามา
พระนาคเสนมีเถรวาจาก่อน มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อาตมานี้เห็นว่า ซึ่ง
เขาจะชั่งสิ่งของทั้งปวง ก็ชั่งที่ควรจะชั่งได้ และจะชั่งเกลือนี้ไซร้ให้หมดทั้งเล่มเกวียนนี้ ก็เห็นจะ
ช้าหาบุคคลชั่งไม่ได้ ใช่กิจใช่การ เปรียบปานดุจชิวหามิอาจจะนำมาเข็นมาซึ่งเกลือทั้งเล่ม
เกวียนนั้นได้ ฉันใดก็ดี ซึ่งมีพระราชโองการให้อาตมาประมวลซึ่งธรรมทั้งหลาย คือผัสโส
เวทนาเป็นอาทิประมวลเข้าเป็นภาวะสิ่งเดียวกัน แล้วจะให้กลับคัดออกมาว่า ธรรมสิ่งนี้เป็น
ผัสโสเป็นเวทนาเป็นอาทินั้น ก็เหมือนกันกับเกลืออันบรรทุกอยู่ในเกวียน และเปรียบให้เอา
ชิวหานำไปเข็นซึ่งเกวียนนั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร ได้ทรงสดับก็โสมนัสตรัสว่า กลฺโลสิ พระผู้เป็นเจ้า
วิสัชนานี้สมควรแล้ว
เอกโตภาวคตปัญหา คำรบ 2 จบเท่านี้
แลซึ่งวิสัชนามาด้วยปัญหา นับแต่ปัญหาเดิม ซึ่งพระนาคเสนกับพระเจ้ากรุงมิลินท์
ถามแก้ไขกันมา ตราบเท่าถึงเอกโตภาคตปัญหานี้ เรียกว่ามหาปัญหา จบเท่านี้

ปัญจายตนกัมมนิพพัตตปัญหา ที่ 1
ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมิทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามซึ่งอรรถปัญหาอื่น
ต่อไปอีกเล่าว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า ยานิมานิ ปญฺจายตนานิ
อันว่าอายตนะ 5 ประการทั้งหลายเหล่าใดนี้ บังเกิดด้วยกรรมทั้งหลายต่าง ๆ หรือว่าเกิดด้วย
กรรมสิ่งเดียว เป็นประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า เกิดด้วยกรรมทั้งหลายทั้ง 5 ประการ จะได้เกิด
แต่กรรมสิ่งเดียวหามิได้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสให้พระนาคเสนกระทำอุปมา
ส่วนพระนาคเสนจึงอุปมาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดุจหนึ่ง
พืช 5 ประการ บุคคลหว่านลงในที่อันไถแล้วเป็นอันดีคลจะงอกขึ้นทั้ง 5 ประการ เกิดเป็น
ต้นลำทรงดอกออกผลทั้ง 5 ประการ ฉันใดก็ดี บุคคลกระทำกรรมเนื่องกันทั้ง 5 ประการ ก็
บังเกิดไปในชาติหน้าด้วยกรรมทั้งหลายนั้น จะได้เกิดด้วยกรรมสิ่งเดียวหามิได้ ขอถวายพระพร
ในที่นี้มีคำพระฎีกาจารย์สอดเข้ามาว่า ประการหนึ่งจะสงสัยว่าไฉนบุคคลกระทำกรรมทั้ง
5 ประการ ผลกรรมทั้ง 5 ประการจะให้ผลไปเกิดทั้ง 5 ประการพร้อมกันทีเดียวหรือหามิได้
มีคำอธิบายว่า ให้ผลเป็นลำดับไปในชาติเบื้องหน้า ผลกรรมสิ่งนี้สิ้นแล้วผลกรรมสิ่งนั้นให้ผลไป
ยังมิได้สำเร็จแก่พระนิพพานตราบใด ก็คงจะให้ผลจงได้ ถ้ากระทำบาปไว้ก็จะให้ไปบังเกิดในทุคติ
ถ้ากระทำบุญก็จะได้ไปเกิดในสุคติ พระนาคเสนเจ้าจะได้บังเกิดไว้ว่า บุคคลกระทำกรรมเนื่องกันทั้ง
5 ประการ จะส่งผลให้เกิดชาติเดียวพร้อมกันทั้งสิ้นนั้นหามิได้ แต่ว่าคงจะให้ปฏิสนธิเสวยสุข
ทุกข์ให้จงได้ อนึ่งจะสงสัยว่ากรรมที่บุคคลกระทำเนื่องกันทั้ง 5 ประการนี้ คือกรรมสิ่งไร อธิบาย
ว่า กรรมเนื่องกัน 5 ประการนี้ เหมือนบุคคล 2 จำพวก จำพวกหนึ่งรักษาศีล 5 จำพวก
หนึ่งกระทำปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมาสุมิจฉาจาร มุสาวาท สุราเมรัย ทั้ง 5 ประการฉะนี้
คงจะให้ผล ถ้าบุคคลรักษาศีลก็จะให้ไปเสวยสมบัติสุขในสุคติ ถ้ากระทำปัญจพิธเวร 5 ประการ
คือปาณาติบาตเป็นต้น ก็จะได้ไปสู่ทุคติจตุราบาย ขอสัตบุรุษทั้งหลายพึงมนสิการเข้าใจด้วย
ประการดังวิสัชนามานี้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ ได้ทรงฟังก็โสมนัสตรัสว่า กลฺโลสิ พระผู้เป็นเจ้ากล่าว
วิสัชนามานี้สมควรแล้ว
ปัญจายตนกันมนิพพัตตปัญหา คำรบ 3 จบเท่านี้

กัมมนานากรณปัญหา ที่ 4


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐ มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาในโลกนี้มิได้
เสมอกัน อปฺปายุกา บางคนมีอายุน้อย บางคนเกิดมา ทีฑายุกา มีอายุยืน พหฺวาพาธา
บางคนมีอาพาธเจ็บป่วยมาก อปฺปาพาธา บางคนมีอาพาธเจ็บป่วยน้อย อญฺเญ ทุพฺพณฺณา
บางคนมีผิวพรรษวรรณอันชั่ว อญฺเญ วณฺณวนฺตา คนอื่นบางพวกมีผิวพรรณวรรณอันงาม
อปฺเปสกฺขา บางพวกมีอานุภาพน้อย มเหสกฺขา บางพวกมีศักดานุภาพมาก อปฺปโภคา
บางพวกมีสมบัติน้อย พหุโภคา บางพวกมีสมบัติมาก อญฺเญ นีจา คนอื่นบางพวกมีสกุลอันต่ำ
อญฺเญ อุจฺจกุลิโน คนอื่นบางพวกมีสกุลกันสูง อญฺเญ ทุปฺปญฺญา คนอื่นบางพวกมี
ปัญญาน้อย ปญฺญวนฺตา บางพวกมีปัญญาวิเศษ เกน การเณน ด้วยเหตุเป็นไฉน
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขตอบไปว่า มหาราช ของถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ผู้ประเสริฐ รุกฺขา อันว่าต้นไม้ทั้งหลายอันเกิดมา อสมกา ไม่เสมอกัน อญฺเญ ติตฺติกา ต้นอื่น
บางต้นขมขื่น อญฺเญ กฏุกา ต้นอื่นบางต้นเผ็ดร้ายกาย อญฺเญ กสายเว ต้นอื่นบาง ต้นเฝื่อน
ฝาด รุกขชาติบางต้นหวาน กิสฺส เหตุ เหตุการณ์เป็นไฉน นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า รุกชาติเหล่านี้เป็นด้วยพืชต่าง ๆ กัน
พระนาคเสนมีเถระวาจาว่าอันใดก็ดี มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้เป็น
มหิศราธิบดี คนทั้งหลายนี้เกิดมาไม่เหมือนกัน เพราะกุศลากุศลกรรมกระทำไว้ต่าง ๆ กัน
สมด้วยพระพุทธฎีกาสมเด็จพระภควันตบพิตรพุทธสัพพัญญูเจ้าตรัสไว้ฉะนี้ :-
กมฺมสฺสกา สตฺตา กมฺมทายาทา กมฺมโยนี กมฺมพนฺธู กมฺมปฏิสฺสรณา กมฺมํ สตฺเต
วิภชฺชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตายาติ

กระแสพระพุทธฎีกาตรัสโปรดไว้ว่า สตฺตา อันว่าสัตว์โลกทั้งหลายอันจะเกิดมาในโลกนี้
มีลักษณะต่าง ๆ กันโดยประเภท กมฺมสฺสกา เหตุว่าเพราะผลกรรมที่ตนได้กระทำไว้ กมฺม-
ทายาทา บางพวกก็มีกรรมเป็นเชื้อสาย กมฺมโยนี บางพวกก็มีกรรมเป็นกำเนิด บางพวกก็มี
กรรมเป็นเผ่าพงศ์วงศา บางพวกก็มีกรรมเป็นที่พึ่ง ตกว่ากุศลกรรมและอกุศลกรรมสอง
จำพวกนี้แบ่งสัตว์ให้เป็นสองจำพวกออกไป ให้เป็นหีนะจำพวก 1 ให้เป็นประณีตะจำพวก 1
คือแต่งดีแต่งชั่ว ที่ฝ่ายกุศลก็แต่งให้ดี ที่ฝ่ายอกุศลก็แต่งให้ชั่วช้า นี่แหละพุทธฎีกาโปรดไว้ฉะนี้